ประวัติเเข่งกีฬาบาสเกตบอล

ประวัติเเข่งกีฬาบาสเกตบอล

 

 

ประวัติการเเข่งขันกีฬาบาสเกตบอล

·         พ.ศ. 2435 เริ่มมีการแข่งขันบาสเกตบอลครั้งแรก ระหว่างนักศึกษากับคณะครู ของวิทยาลัย สปริงฟิล (Springfield College) ผลการแข่งขัน นักศึกษาชนะ 5:1

·         พ.ศ. 2435 เริ่มมีการเผยแพร่เข้าไปเล่นในประเทศเม็กซิโก (Mexico) ในปีเดียวกัน Lew Allen of Hartford ได้ประดิษฐ์ประตูทรงกระบอกที่ทำจากเส้นลวดลักษณะคล้ายกับของ Dr.James Naismith ห่วงประตูยังตงติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม มีตะแกรงป้องกันลูกบอลสำหรับผู้ชมทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีการจัดทำกระดานหลังแผ่นแรกขึ้น มีขนาด 3.6 เมตร * 1.8 เมตร

·         พ.ศ. 2437 บาสเกตบอลแยกออกมาจากฟุตบอล โดยมีคณะกรรมการบาสเกตบอล
– ในปีเดียวกันนี้มีการรับรองกระดานหลัง ซึ่งมีขนาด 1.8 เมตร * 1.2 เมตร
– กำหนดให้มีการโยนโทษ
– เกิดการคิดค้นห่วงประตู มีตาข่ายติดกับห่วงประตูด้วยเส้นเชือก เมื่อเชือกนั้นถูกดึงจะทำให้ลูกบอลผ่านไปได้ และยกเลิกการใช้บันไดตั้งแต่บัดนั้น
– เริ่มการแข่งขันบาสเกตบอลหญิงเป็นครั้งแรกที่ นอร์ตแฮมตัน (Northamton)

·         พ.ศ. 2439 เปลี่ยนแปลงกติกาเรื่องการนับคะแนนจากการยิงประตูธรรมดา เป็น คะแนน และนับคะแนนจากการโยนลูกโทษ คะแนน
– เกิดการแข่งขันระดับวิทยาลัยเป็นครั้งแรกระหว่าง ชิคาโก (Chicago) กับโลวา (Lowa) โดยให้มีผู้เล่นฝ่ายละ คน ผลการแข่งขัน ชิคาโก ชนะ 15:12 ไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
– Dr.James Naismith ควบคุมกติกา จนกระทั่งมีการจัดตั้งสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นและได้บรรจุกติกาและการเปลี่ยนแปลง

·         พ.ศ. 2440 สหพันธ์ได้กำหนดกติกาโดยให้ทีมมีผู้เล่นฝ่ายละ คน และเป็นที่ยอมรับกัน ทั่วโลก ซึ่งก่อนหน้านี้การเล่นบางครั้งมีผู้เล่นมากกว่า 50 คน ของแต่ละฝ่ายในสนาม

·         พ.ศ. 2448 ได้ขยายเข้าไปในโรงเรียนมัธยม,มหาวิทยาลัย,สมาคม โบสถ์ และทหาร
– นักศึกษาโรงเรียนกีฬาสปริงฟิลได้นำเผยแพร่ ณ ประเทศฝรั่งเศส

·         พ.ศ. 2452 มีการนำกระดานหลังชนิดกระจกใสเป็นครั้งแรก และได้รับการรับรองในกติกา และผู้เล่นที่ฟาล์วครบ ครั้งให้เป็นฟาล์วเสียสิทธ์
– ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ การแข่งขันบาสเกตบอลได้หยุดชะงักลง ระหว่างนั้นทหารอเมริกัน,ผู้ฝึกสอน และ Dr.James Naismith นำบาสเกตบอลเข้าไปยุโรปเป็นนวัตกรรมการแข่งขัน

·         พ.ศ. 2463 มีการแข่งขัน Inter-Allied Game เป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส (Paris) ผลการแข่ง ขันสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะฝรั่งเศส (France)และอิตาลี (Italy) โดยถือเป็นการแข่งขันระหว่างชาติเป็นครั้งแรก และเป็นการเริ่มต้นไปสู่การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับโลก

·         พ.ศ. 2466 กำหนดการฟาล์วผู้เล่นยิงประตูโทษโดยแยกจากการฟาล์วอื่น ๆ กล่าวคือ การ ฟาล์วบุคคลต่อผู้เล่นกำลังยิงประตูจะต้องมีการโยนโทษ

·         พ.ศ. 2467 เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ณ กรุงปารีส (Paris)

·         พ.ศ. 2470 Abe Saperstein ติดต่อกับ Harlem Gloketrotters. ซึ่งเป็นผู้เล่นจากชิคาโก และ แข่งขันกันครั้งแรกที่ Hinebluy มลรัฐ Illinois ตั้งแต่นั้นมีส่วนทำให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจกีฬาบาสเกตบอลเพิ่มขึ้นกว่า 100 ประเทศ

·         พ.ศ. 2472 จัดตั้งโรงเรียนพลศึกษา ขึ้นที่ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยได้รับความร่วมมือจาก วิทยาลัยสปริงฟิล (Springfield College)

·         พ.ศ. 2475 บาสเกตบอลเป็นที่สนใจและเป็นที่นิยมของคนทั่วโลก และสามารถกล่าวได้ว่า บาสเกตบอลเป็นกีฬามาจาก สหรัฐอเมริกา (USA.)
– สมาคมบาสเกตบอล ได้จัดการประชุมสัมมนา ณ กรุงเจนีวา (Genrva) และได้มีประเทศก่อตั้งสหพันธ์บาสเกตบอลสมัครเล่นนานาชาติ (FIBA) รวม ประเทศ
– FIBA ได้กำหนดและจัดทำกติกาบาสเกตบอลอย่างละเอียด ดังนี้
1. แต่ละทีมมีผู้เล่นได้ คน เปลี่ยนผู้เล่นสำรองได้ คน ครั้ง
2. ภายหลังจากการทำคะแนนปกติหรือจากการโยนโทษ ให้เริ่มการแข่งขันด้วยลูกกระโดด ณ วงกลมกลาง
3. มอบหมายให้ Technical Commission ประชุมตกลงเปลี่ยนแปลงกติกาทุก ๆ ปี ภายในปีที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

·         พ.ศ. 2478 จัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลชายชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ณ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ประเทศ ในครั้งนั้นทีมชนะเลิศ คือ ประเทศแลตเวีย (Latvia) ซึ่งชนะ ประเทศสเปน (Spain) ด้วยคะแนน 24 :18
– การประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ณ กรุงออสโล (Oslo) และได้รับการบรรจุในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไป ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin) นับเป็นรายการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดครั้งแรงของบาสเกตบอล และในการแข่งขันครั้งนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะเลิศ โดยชนะคู่ชิง ประเทศแคนาดา (Canada) ด้วยคะแนน 19:8 ผู้ให้เกียรติมอบเหรียญรางวัล คือ Dr.James Naismith
– FIBA จัดการประชุม ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin)โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ให้เกิดความสมดุลและเสมอภาคระหว่างผู้เล่นฝ่ายป้องกันและฝ่ายรุก
2. จำกัดความสูงของผู้เล่น
3. ขอเวลานอกได้ ครั้ง
4. ยกเลิกการเล่นลูกกระโดดหลังจากเกิดทำคะแนนได้ ให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลังแทน
5. แบ่งสนามเป็นสองส่วน
6. เริ่มใช้กติกาว่าด้วย 10 วินาทีในแดนหลัง
7. ฟาล์วบุคคลของผู้เล่นเพิ่มเป็น ครั้ง

·         พ.ศ. 2483 Dr.James Naismith ผู้คิดค้นกีฬาบาสเกตบอล ได้เสียชีวิต

·         พ.ศ. 2491 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 , FIBA ได้ประชุม ณ กรุงลอนดอน (London) โดยมี รายละเอียดที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
– เริ่มนำกติกาว่าด้วย วินาที
– ห้ามผู้เล่นที่มีความสูงยืนใต้ห่วงประตู
– เพิ่มผู้เล่นสำรองจาก คน เป็น คน
– ขอเวลานอกเพิ่มเป็น ครั้ง
– ให้ส่งบอลแทนการโยนโทษในช่วงเวลา นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน
– ให้ยกเท้าหลักได้ก่อนการยิงประตู ,ส่งบอล หรือเลี้ยงบอล
– ผู้เล่นชาวเอเชียเริ่มใช้วิธีการกระโดดยิงประตู

·         พ.ศ. 2492 จัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลอาชีพ NBA

·         พ.ศ. 2493 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศชายของโลก ณ ประเทศอาเจนตินา (Argentina)

·         พ.ศ. 2494 จัดการแข่งขัน NBA-ALL STAR เป็นครั้งแรก ณ กรุงบอสตัน (Boston) ในครั้งนั้นฝั่งตะวันออก ชนะ ฝั่งตะวันตก ด้วยคะแนน 111 : 94

·         พ.ศ. 2495 หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเฮลซิงกิ (Helsinki) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
– เพิ่มฟาล์วบุคคลเป็น ครั้ง (Foul-out)
– เกิดการแข่งขันที่น่าเบื่อ เนื่องจากทีมเล่นช้าลงมากโดยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้ เกิดช่องว่างของการพัฒนาเกมการแข่งขัน

·         พ.ศ. 2496 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของโลก ณ ประเทศชิลี (Chile)

·         พ.ศ. 2497 Danny Biason เสนอแนะข้อสรุป และใน NBA เริ่มใช้กติกาใหม่ เพื่อให้เกมการ แข่งขันรวดเร็ว โดยให้ทีมครอบครองบอลต้องยิงประตู ภายใน 24 วินาที

·         พ.ศ. 2499 ในการแข่งขัน ณ กรุงเมลเบอร์น (Melbourne) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
– ฝ่ายรุกต้องยิงประตู ภายในเวลา 30 วินาที
– กำหนดเขตโยนโทษ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู บริเวณใต้ห่วงประตู
– FIBA Technical Commission ทบทวนความสมดุลและเสมอภาคของผู้เล่นฝ่ายรุกและฝ่ายป้องกัน การยิงประตูยกเท้าหลักแล้วปล่อยบอลหลุดจากมือ และการเลี้ยงบอลต้องปล่อยบอลหลุดจากมือก่อนยกเท้าหลัก
– เกิดการกระโดดยิงประตูได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการยิงประตู การส่งบอล และการเลี้ยงบอล
– เกิดยุทธวิธีกำบัง (Screen) การเล่นเต็มสนามของผู้เล่นทำให้ยากต่อการจัดการ

·         พ.ศ. 2501 จัดการแข่งขันชายชิงชนะเลิศชายของสโมสรยุโรป

·         พ.ศ. 2502 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของสโมสรยุโรป

·         พ.ศ. 2503 FIBA ประชุม ณ กรุงโรม (Rome) มีการเปลี่ยนแปลง ดังรายละเอียดดังนี้
– 5 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน เกิดการฟาล์วบุคคลจะลงโทษด้วยการโยนโทษ ครั้ง
– กระทำฟาล์วแล้วยิงประตูเป็นผล ให้ยกเลิกคะแนน
– ทั้งสองทีมทำฟาล์วซึ่งกันและกัน และบทลงโทษเท่ากัน ให้ยกเลิกบทลงโทษของการโยนโทษ หากบทลงโทษไม่สามารถยกเลิกได้ ให้โยนโทษได้ไม่เกิน ครั้งและครอบครองบอล
– การเปลี่ยนแปลงของบทลงโทษที่สลับซ้ำซ้อนทำให้บางครั้งเป็นสถานการณ์ที่ยุ่งยากสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน เมื่อต้องมีการนับการยกเลิกบทลงโทษ และจำนวนของการโยนโทษที่เหลือ ทำให้บางครั้งผู้ชมหรือผู้เล่นไม่เข้าใจและเกิดความสับสน

·         พ.ศ. 2507 เริ่มใช้ ช่วงการเล่น (Play Phase)
– FIBA ได้ประชุม ณ กรุงโตเกียว (Tokyo) ตกลงให้จัดทำหนังสือกติกาที่เข้าใจง่าย
– เกิดระบบของการรุก และมีการยิงประตูทำคะแนนได้เพิ่มขึ้น ความแข็งแกร่งของผู้เล่นมีความสำคัญ เนื่องจากกีฬาบาสเกตบอลค้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา

·         พ.ศ. 2515 หลังจากการแข่งขันโอลิมปิก ณ ประเทศเม็กซิโก (Mexico), FIBA ได้ กำหนดการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของกติกาดังนี้
– กำหนดหลักทรงกระบอกเหนือห่วงประตู ยกเลิกการห้ามผู้เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตู เมื่อลูกบอลกระทบห่วงประตูผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสามารถเล่นได้
– 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วจะได้โยนโทษ ครั้ง
– หากเกิดฟาล์วทีมให้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการโยนโทษ

·         FIBA มีการประชุม ณ กรุงมิวนิค (Munich) และได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
– ยกเลิก นาทีสุดท้าย ให้ใช้กับทุกนาทีในการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วผู้เล่นที่ไม่มีบอล ให้ส่งบอลเข้าเล่น
– การเปลี่ยนแปลงกติกาทำให้ผู้เล่นฝ่ายป้องกันสามารถละเมิดการฟาล์วเพื่อทำให้ ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่อยู่ในตำแหน่งยิงประตู

·         พ.ศ. 2516 การแข่งขันชิงชนะเลิศของทวีปยุโรป ณ กรุงบาร์เซโลนา (Barselona) การฟาล์วช่วงใหล้หมดเวลาการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การฟาล์วเฉลี่ยต่อเกมสูงถึง 61 ครั้ง ซึ่งมีผลกระทบต่อการแข่งขันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ FIBA ไม่สามารถรอจนถึงการประชุมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งหน้า ดังนั้น FIBA จึงมีการประชุมและกำหนดตกลงดังนี้
– “หากแต่ละครึ่งเวลาทีมกระทำฟาล์วครบ10 ครั้ง จะถูกโยนโทษ ครั้ง ” สำหรับการฟาล์วของทีมครอบครองบอลให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นข้าง

·         พ.ศ. 2517 เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้การฟาล์วทีมครบ 10 ครั้ง

·         พ.ศ. 2519 ประชุม FIBA ณ กรุงมอลทรีออล (Montreal) มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงใหม่ดังนี้
– ให้มีการใช้กติกาว่าด้วยการฟาล์วทีม 10 ครั้ง บทลงโทษ โยนโทษ ครั้ง
– ผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาล์วขณะกำลังยิงประตู บทลงโทษให้ได้โยนโทษใน ครั้ง หากการยิงประตูธรรมดานั้นเป็นผล ให้นับคะแนนและได้โยนโทษ ครั้ง

·         พ.ศ. 2523 ประชุม FIBA ณ กรุงมอสโคว์ (Moscow) เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
– ลดจำนวนการฟาล์วทีมรวม เหลือ ครั้ง
– ฟาล์วเทคนิคที่นั่งทีม และหากฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอนครบ ครั้ง ให้เป็นการฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้ฝึกสอน
– ได้จัดทำเอกสารข้อแนะนำกติกาสำหรับวิธีการพิจารณาหลักการประทะโดยกำหนดผู้เล่นใดที่ต้องรับผิดชอบต่อการปะทะนั้น ( ใช้หลักของแนวดิ่ง หมายถึง ช่องว่างเหนือผู้เล่นที่เป็นรูปทรงกระบอก โดยผู้เล่นที่ลอยตัวในอากาศอย่างถูกต้องจะลงสู่พื้นตำแหน่งเดิมก่อนการกระโดด และการป้องกันอย่างถูกต้องนั้นเป็นลักษณะใด รวมถึงการพิจารณาการสกัดกั้น)

·         พ.ศ. 2527 FIBA ได้กำหนดกติกาใหม่ดังนี้
– เริ่มใช้การยิงประตู คะแนน (NBA เริ่มใช้เมื่อปี 2526 โดยกำหนดการพยายามยิงประตู คะแนน ด้วยเส้นที่ห่างจากห่วงประตู 6.25 เมตร, NBA 7.24 เมตร ) เป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับผู้เล่นที่รูปร่างเล็กสามารถทำคะแนนได้
– ขนาดสนามเปลี่ยนเป็น 15 เมตร * 28 เมตร
– ฟาล์วทีมรวมลดลงเหลือ ครั้ง บทลงโทษ 1+1 (ผู้เล่นโยนโทษครั้งแรกพลาดให้การแข่งขันดำเนินต่อไปทันที)
– ยกเลิกการโยนโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตูโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตู ใน ให้ใช้บทลงโทษของการพยายามยิงประตูตามพื้นที่ (หากพยายามยิงประตู คะแนนไม่เป็นผล ให้โยนโทษ ครั้ง หากพยายามยิงประตู คะแนนไม่เป็นผลให้โยนโทษ ครั้ง)
– บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน เปลี่ยนเป็น โยนโทษ ครั้ง และได้ครอบครองบอล

·          พ.ศ. 2529 FIBA World Congress ได้กำหนดการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
– ให้มีการฟาล์วเจตนาและฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้เล่น ให้โยนโทษ หรือ ครั้ง และเพิ่มการครอบครองบอล จุดประสงค์เพื่อเพิ่มชนิดของการฟาล์วซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการแข่งขัน

·         พ.ศ. 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
– ยกเลิกสิทธิ์ในการเลือกสำหรับการส่งบอลเข้าเล่นและช่วงการเล่น (Play Phase) ยกเลิกข้อจำกัดของการโยนโทษที่เกิดขึ้น ไม่มีข้อยุ่งยากสำหรับทุกคน
– กำหนดเขตที่นั่งทีม
– หากผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมลุกออกจากที่นั่งทีมอย่างไรจึงถูกขานฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน และลุกออกจากที่นั่งทีมขณะเกิดการชกต่อย ให้ขานฟาล์วเสียสิทธิ์ทันที
– ให้กรรมการผู้ตัดสินยื่นส่งบอลให้แก่ผู้เล่นทุกจุดที่มีการส่งบอลเข้าเล่น
– ห้ามผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นก้าวเท้าเกินกว่า เมตร ในทิศทางเดียวกันก่อนการปล่อยบอลจากการส่ง
– ผู้เล่นที่ยืนช่องโยนโทษเข้าแย่งบอลจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวเมื่อลูกบอลหลุดจากมือของผู้โยนโทษ
– ผู้ตัดสินสามารถแก้ไขความผิดผลาดที่เกี่ยวกับการโยนโทษและคะแนน

·         พ.ศ. 2535 FIBA เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอาขีพสามารถลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุง บาร์เซโลนา (Barcelona) ซึ่งเรียกว่า ‘Dream Team’ ได้รับการสนใจจากบุคคลทั่วโลก

·         พ.ศ. 2537 FIBA ได้ปรับปรุงกติการ ดังนี้
– กำหนดระบบการแข่งขัน 2 x 20 นาที หรือ 4×12 นาที
– การส่งบอลเข้าเบ่นให้ส่งใกล้จุดเกิดเหตุ รวมถึงเส้นหลัง
– ผู้เล่นกำลังยิงประตู ให้นับรวมถึงกรณีผู้เล่นการลอยตัวในอากาศจากการยิงประตูจนกว่าเท้าสัมผัสพื้นทั้งสองข้าง
– สามารถกระโดดยัดห่วง (Alley-oop) จากการส่งบอลและลูกบอลนั้นย้อยลงมาเหน็จห่วงได้
– เปลี่ยน ‘ฟาล์วเจตนา’ เป็น ‘ฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา’
– ยกเลิกบทลงโทษ ‘1+1′ ให้ใช้บทลงโทษการโยนโทษ ครั้ง แทน
– หากผู้เล่น,ผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีม ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ ต้องออกจากสนามแข่งขันกลับไปยังห้องพักหรือออกจากอาคารการแข่งขัน
– จากสถานการณ์การโยนโทษ ให้มีผู้เล่นทั้งสองทีมทำการแย่งลูกบอลในช่องยืนโยนโทษ ไม่เกิน คน (รวมผู้โยนโทษด้วย ทีมละ คน)

·         พ.ศ. 2541 FIBA ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา ดังนี้
– ยกเลิก ‘บอลเข้าสู่การเล่น (Ball in Play)’
– เปลี่ยนแปลง ‘บอลดี’ ขณะส่งบอลเข้าเล่นและการเล่นลูกกระโดด
– ขอเวลานอกเพิ่มเป็น ครั้ง
– 2 นาทีสุดท้ายของครึ่งเวลาหลังหรือช่วงต่อเงลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูธรรมดาเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด
– ผู้เล่นผ่ายรุก และฝ่ายป้องกัน ห้ามสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตูและขณะลูกบอลการะทบกระดานหลังจากการยิงประตู
– บทลงโทษของการฟาล์วคู่ ทีมที่ครอบครองบอลแล้วเกิดกระทำฟาล์วคู่ ยังคงได้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการเล่นลูกกระโดด
– ใช้ ‘ ฟาล์วเทคนิคขาดน้ำใจนักกีฬา ‘ ให้โยนโทษ ครั้งและครอบครองบอล

·         พ.ศ. 2543 Central Broad of FIBA ได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
– ระบบการแข่งขัน เป็น 4 period ๆ ละ 10 นาที (4X10 นาที)
– ฟาล์วทีมรวมเหลือ ครั้งต่อ period ครั้งต่อไปให้โยนโทษ ครั้ง
– พักการแข่งขัน period ที่ 1-2,3-4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ นาที พักการแข่งขัน period ที่ 2-3 เป็นเวลา15 นาที
– ขอเวลานอก period ที่ 1,2,3หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษได้ ครั้ง ขอเวลานอก period ที่ ได้ ครั้ง
– ให้เวลานอก นาทีเต็ม ถึงแม้ทีมที่ขอเวลานอกพร้อมแข่งขัน
– เปลี่ยนกติกาว่าด้วย 30 วินาที และนาฬิกา 24 วินาทีเริ่มต้นนับใหม่เมื่อลูกบอลหลุดจากมือจากการยิงประตูและสัมผัสห่วงประตู หากลูกบอลลอยในอากาศจากการยิงประตูแล้วเสียงสัญญาณ 24 วินาทีดังขึ้นนาฬิกาแข่งขันหยุดทันที หากบอลเข้าห่วงประตู ให้นับคะแนน หากไม่ลงถือเป็นผิดระเบียบ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลเข้าเล่น
– ทีมครองครองบอลต้องพาบอลสู่แดนหน้า ลดเหลือ วินาที
– ช่วง นาทีสุดท้ายของ period ที่ หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด ทีมที่มีสิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่นจากการเสียประตู ขอเปลี่ยนตัวได้ และฝ่ายตรงข้ามขอเปลี่ยนตัวตามได้
– FIBA จะใช้ระบบการตัดสิน คน สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก
– สำหรับระบบการตัดสินใจ คน หากฝ่ายจัดการแข่งขันพิจารณาแลัวและมีความเห็นให้ใช้ก็สามารถกระทำได้
– บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้เล่น ให้โยนโทษ ครั้ง และครอบครองบอล

·         พ.ศ. 2543 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารการวินิจฉัยและตีความอธิบายรายละเอียดของกติกาและเหตุการณ์ที่เกิดให้ชัดเจนขึ้น

·         พ.ศ. 2544 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารเน้นจุดสำคัญของการปฏิบัติ เช่น การลงโทษ,การพิจารณาการเล่นที่ได้เปรียบ/เสียเปรียบ
– ได้เผยแพร่เอกสารเน้นการแข่งขันอย่างรวดเร็ว,การเคลื่อนที่ของผู้ตัดสินในสนามระบบการตัดสินที่ชัดเจน และการวินิจฉัยตีความเพื่อแนวทางในมื่อเกิดเหตุการณ์ในสนาม

·         เมื่อสิ้นทศวรรตที่ 20 (พ.ศ.2543) ประมาณกันว่ามีผู้นิยมกีฬาบาสเกตบอลกว่า 250 ล้านคน และมีประเทศที่เป็นสมาชิกสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (F.I.B.A.) 208 ประเทศ

 

 

• เรื่องน่าสนใจ •